นื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในหลายประเทศทั่วโลก โดยในปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อรวมกันถึง 7 ล้านคนแล้ว ซึ่งถือเป็นการระบาดที่ร้ายแรงและแพร่ในวงกว้าง ดังนั้นในแต่ละประเทศจึงได้วางมาตรการในการป้องกันโรคแบบขั้นสูงสุด เพื่อยับยั้งและควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปมากกว่านี้
ในประเทศไทยที่ผ่านมาได้มีการออกมาตรการที่ควบคุมโรคอย่างครอบคลุมและชัดเจน จึงทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคระบาดภายในประเทศได้ ดังนั้นเมื่อประชากรที่อาศัยในประเทศไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 รัฐบาลจึงได้ทำการเปิดห้างสรรพสินค้า ร้านค้า เพื่อให้การตลาดและเศรษฐกิจดำเนินการได้อย่างปกติ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงสถานบันศึกษาที่ได้ประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่าจะเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563
ข้อปฏิบัติสำหรับโรงเรียนและสถาบันศึกษา ในสถาณการณ์โควิด 19
1. แจ้งผู้ปกครองเมื่อบุตรหลานมีอาการเจ็บป่วย
เมื่อมีนักเรียนคนใดที่มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก มีไข้ ให้รีบทำการแจ้งผู้ปกครองทันที เพื่อให้ปกครองรับทราบและนำบุตรหลานของตนเองไป กักตัว 14 วัน หรือ เข้ารับการตรวจสอบรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงนักเรียนที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารสุขได้ประกาศไว้
2. คัดกรองนักเรียนบริเวณทางเข้าโรงเรียน
ก่อนเข้าโรงเรียนหรือสถานศึกษาให้มีการตรวจและคัดกรองนักเรียนในเบื้องต้น อย่างเช่นการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายด้วย เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้อินฟาเรด เมื่อทำการตรวจสอบแล้วให้ทำสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้บนเสื้อหรือร่างกายของนักเรียน เช่น ตราปั๊ม สติ๊กเกอร์ หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อบ่งบอกว่านักเรียนคนดังกล่าวได้รับการคัดกรองแล้วในเบื้องต้น
จุดคัดกรอง
นอกจากการตรวจวัดอุณหภูมิแล้ว ให้เตรียมการจัดอุปกรณ์ล้างมือไว้ตรงบริเวณหน้าประตูเข้า-ออกของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น แอลกอฮอล์เจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อ หรือ สบู่เหลวล้างมือ ไว้ตามอ่างล้างมือรอบโรงเรียน
ทั้งนี้หากพบเจอนักเรียนที่มีอาการป่วยภายในโรงเรียน ให้คุณครูนำนักเรียนคนดังกล่าวแยกออกไปอยู่ภายในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก จากนั้นจึงติดต่อผู้ปกครองให้มารับนักเรียนคนดังกล่าวไปตรวจรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3. ทำความสะอาดอุปกรณ์และสถานที่ต่าง ๆ เมื่อมีผู้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว
หากมีบุคลากรในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ดูแลนักเรียน นักเรียน หรือบุคคลภายนอกอย่าง ผู้ปกครอง ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงในระยะเวลาไม่เกิน 14 วัน เข้ามาในสถานที่นั้น ๆ ของโรงเรียน ให้ทางโรงเรียนรีบดำเนินการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ทั้งหมด รวมถึงสถานที่ดังกล่าวทั้งภายในและภายนอกของอาคาร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 โรงเรียนอาจพิจารณาในการปิดโรงเรียน ตามที่เห็นสมควร โดยควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อและเครื่องพ่นละอองฝอยที่ได้มาตรฐาน
4. พิจารณาการจัดกิจกรรมในโรงเรียน
หากมีกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันเกิน 300 คน ไม่ว่าจะเป็น การปฐมนิเทศ, รับน้อง, กีฬาสี, ปัจฉิมนิเทศ, กิจกรรมวันเด็ก, กิจกรรมเข้าค่าย และ ทัศนศึกษา ควรที่จะงดจัดและทำกิจกรรรมข้างต้นไปก่อน เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรและนักเรียน
ต้องมีฉากกั้นระหว่างโต๊ะหรือระหว่างบุคคล ขอบคุณรูปภาพจาก เพจ Facebook ศธ.360 องศา
นอกจากนั้นแล้วห้องเรียนและโรงอาหารก็ควรที่จะมี การรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โดยให้มีระยะห่างต่อบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร ทั้งนี้เพื่อยกระดับความปลอดภัยก็ควรที่จะต้องมีฉากกั้นระหว่างโต๊ะหรือระหว่างบุคคล
5. จัดให้มีการดูแลอาคารและยานพาหนะ
จัดการทำความสะอาดห้องและสถานที่ที่ใช้ร่วมกันหลายคน ด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือ ผงซักฟอก เช่น ห้องสมุด, โรงอาหาร, ห้องเรียน, โรงยิม, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องดนตรี เป็นต้น
จัดการทำความสะอาดรถรับ-ส่งนักเรียน ด้วยผงซักฟอก หรือ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว) ในส่วนที่มีการสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น ที่เปิดประตู ที่นั่ง ที่วางแขน เป็นต้น ทั้งนี้ก่อนไปรับและหลังส่งนักเรียนให้เปิดหน้าต่างรถทุกครั้งเพื่อให้รถได้ถ่ายเทอากาศ
เปิดประตู หน้าต่าง ในห้องที่มีการใช้ร่วมกัน เช่น ห้องเรียน, โรงอาหาร, ห้องประชุม, ห้องสมุด เป็นต้น ทั้งนี้หากในสถานที่นั้น ๆ มีเครื่องปรับอากาศ ให้ทางโรงเรียนดำเนินการทำความสะอาดเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
6. จัดให้มีการดูแลร้านอาหาร การจำหน่ายอาหาร โรงอาหาร
- หากผู้ขายหรือผู้สัมผัสอาหารมีไข้ รวมถึงอาการไอ จาม มีน้ำมูก หายใจเหนื่อย ให้หยุดดำเนินการและรีบพบแพทย์ทันที
- ขณะปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสอาหาร ให้ทำการสวมหมวกคลุมผม หน้ากากอนามัย ผ้ากันเปื้อน ถุงมืออนามัย ทั้งนี้ต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะส่วนบุคคลด้วย
- ห้ามไอและจามใส่อาหาร ควรล้างมือก่อนและหลังประกอบอาหารอย่างสม่ำเสมอ
- ปกปิดอาหารและใช้อุปกรณ์ที่มีความสะอาดในการคีบหรือจับอาหาร ห้ามใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง
- ทำความสะอาดโรงอาหาร ร้านจำหน่ายอาหาร รวมถึงจุดเสี่ยงต่าง ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ อีกทั้งภาชนะใส่อาหารก็ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน
- ควรแจกจ่ายอาหารให้นักเรียนภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากประกอบอาหาร หากเกิน 2 ชั่วโมงให้ทำการอุ่นอาหารให้เดือดและจึงค่อยแจกจ่ายใหม่
- ทางโรงเรียนควรควบคุมอาหารที่ทำให้นักเรียนได้รับโภชนาการครบ 5 หมู่ มีความสะอาด ปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่นักเรียน นอกจากนั้นนักเรียนยังต้องได้รับประทานผักผลไม้ปลอดสารพิษตามฤดูกาล ตามมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย (Thai School Luch) อย่างน้อย 70 – 100 กรัม
-
ภาพตารางมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย
7. ทำความสะอาดและดูแลห้องน้ำ
ทำความสะอาดในจุดที่สัมผัสบ่อย ด้วยผงซักฟอก หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟองขาว) *ควรทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง*
ซักผ้าและไม้ถูกพื้นที่ใช้เช็ดทำความสะอาด ด้วยผงซักฟอก หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟองขาว) จากนั้นนำไปพึ่งแดดให้แห้งเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อโรคให้หมด
8. ควบคุมครูและบุคลากรในโรงเรียน
กรณีมีอาการเจ็บป่วย เช่น อาการไอ จาม มีน้ำมูก มีไข้ ให้บุคคลดังกล่าวทำการแจ้งหัวหน้างานและดำเนินการหยุดงานทันที หลังจากนั้นจึงพบแพทย์เพื่อตรวจสอบและรักษาอาการข้างต้น นอกจากนี้แล้วถ้าหากบุคลากรคนใดที่เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขหรืออยู่ในช่วงกักตัว ให้บุคคลดังกล่าวทำตามข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด ควรใส่ถุงมือทำความสะอาด, หน้ากากผ้า, ผ้ายางกันเปื้อน, รองเท้าผ้ายางหุ้มแข้ง หรือ รองเท้าบูทกันเชื้อโรค นอกจากนี้การหยิบขยะในแต่ละครั้งจำเป็นที่จะต้องใช้ไม้คีบอยู่เสมอ และการเก็บขยะที่ถูกต้องควรจะนำเอาขยะไปใส่ถุงขยะและปิดให้มิดชิด จากนั้นจึงนำไปกองรวมในที่พักขยะ หลังจากที่ปฏิบัติงานทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ควรทำคืออาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
ผู้ปฏิบัติงานควรป้องกันตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อหรือการล้างมือด้วยสบู่ รวมไปการหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณ หน้า ตา ปาก จมูก
-
9. ให้ความรู้ผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับโรคโควิด 19
ให้มอบหมายคุณครูได้จัดการเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้และแนะนำนักเรียน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด 19 ไม่ว่าจะเป็นการสอนวิธีล้างมือที่ถูกต้อง การใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกวิธี หรือการปฏิบัติตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เพื่อให้นักเรียนรู้ว่า การกลับไปโรงเรียนในช่วงโควิด 19 ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
การทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลล้างมือที่ถูกต้อง
-
การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน
แนวทางของการจัดการเรียนการสอนของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
1. การเรียนผ่านหนังสือ
การเรียนการสอนแบบนี้เป็นการสอนขั้นพื้นฐานที่เหมือนกับการเรียนในช่วงสถานการณ์ปกติ โดยคุณครูมีการจัดเตรียมชีท เอกสาร หรือหนังสือมาให้นักเรียนได้อ่านและทำความเข้าใจ เพียงแต่ในภาคการเรียนที่จะถึงนี้อาจต้องมีการแบ่งกลุ่มเรียนให้จำนวนคนในแต่ละกลุ่มมีน้อยลง เพื่อที่จะสามารถรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ได้ หรืออีกวิธีหนึ่งคือการสื่อสารผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งคุณครูอาจจะมีการเข้าไปตรวจสอบและเยี่ยมนักเรียนที่บ้านบ้างตามความเหมาะสม
2. การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
ช่องทางโทรทัศน์ถือเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงนักเรียนได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้การเรียนการสอนแบบนี้ยังเป็นสากลที่หลาย ๆ ที่ใช้กัน อีกทั้งทาง สอศ. จะมีการทำลิ้งก์เชื่อมโยงไปบนแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง ยูทูป (Youtube) และ เฟซบุ๊ก (Facebook) เพื่อให้ครอบคลุมและเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้นกว่าเดิม
3. การสอนผ่านออนไลน์
ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า จึงทำให้มีโปรแกรมฟรีที่สามารถใช้เป็นสื่อการสอนได้อย่าง Zoom และ Microsoft Team มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สอศ. ก็พยายามที่จะผลักดันการสอนออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้การเรียนการสอนมีการพัฒนาให้เท่าทันเทคโนโลยี ถึงแม้ว่าในอนาคตสถานการณ์ของโรคระบาดจะคลี่คลายแล้วก็ตาม
4. การสอนสด (Live)
การเรียนการสอนแบบนี้จะมีประโยชน์กับในวิชาที่คุณครูกำลังคลาดแคลนอย่างเช่น สาขาช่างอากาศยาน โดยที่ผ่านมาสาขาวิชาดังกล่าวจำเป็นต้องจ้างบุคลากรภายนอกเข้ามาสอน แต่หากทางอาชีวะสามารถปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนมาเป็นลักษณะการสอนสด (Live) ได้ จะทำให้นักเรียนในวิทยาลัยทุกแห่งสามารถเรียนเนื้อหาวิชาดังกล่าวได้แบบพร้อม ๆ กัน
แนวทางของการจัดการเรียนการสอนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
1. เรียนปกติภายในโรงเรียน
หากโรงเรียนใดมีความพร้อมที่จะเปิดการเรียนการสอนก็ให้ดำเนินการเปิดได้ตามปกติ แต่ขอเพียงแค่ให้ดำเนินการสอนตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
2. เรียนผ่านระบบทางไกล On Air
สามารถเรียนผ่านทาง DLTV สำหรับการเรียนการสอนของระดับอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมถึงทีวีดิจิตอล 17 ช่อง ซึ่ง สพฐ. ทำการผลิตคลิปการสอนไว้สำหรับทุกระดับชั้น
3. เรียนผ่านระบบออนไลน์
นักเรียนสามารถเข้าไปในเว็บไซต์ สช. (www.opec.go.th) จากนั้นให้ทำการเลือกโรงเรียนต้นทางและกรอกข้อมูลทั้งหมด เพียงเท่านี้ก็สามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว
แนวทางของการจัดการเรียนการสอนของ สำนักงาน กศน.
1. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (ETV)
หลักการสอนนี้เป็นการดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุ ให้กับคนทุกวัยได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ตามอัธยาศัย ทั้งนี้ได้มีการเตรียมครูที่มีประสบการณ์และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี มาสลับสับเปลี่ยนกันสอนผ่านทางโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และช่องทางออนไลน์ของ ETV
2. การศึกษาทางไกล
การสอนแบบนี้จะเป็นการสอนผ่านทางแอปพลิเคชัน และช่องทางอื่น ๆ ที่ผู้เรียนสามารถศึกษาทางไกลได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และให้การศึกษานั้นเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก